ผลข้างเคียง ของ เทสโทสเตอโรน (ยา)

ผลที่ไม่พึงประสงค์อาจเป็นเรื่องเล็กน้อยเช่นผิวมัน สิว ผมร่วง และผิวหนังอักเสบที่ผิวมัน (seborrhea)[upper-alpha 1]ซึ่งอาจป้องกันหรือลดได้โดยใช้ยา 5α-reductase inhibitor[32]ในหญิง เทสโทสเตอโรนอาจทำให้ขนตัวและหน้าดก (hirsutism) เสียงทุ้มขึ้น และการเพิ่มบุรุษภาพอื่น ๆการใช้เทสโทสเตอโรนเพิ่มอาจระงับการสร้างสเปิร์มในชาย ซึ่งในบางกรณีทำให้เกิดเป็นหมันแบบฟื้นได้[33]

เต้านมโตในชายหรือการเจ็บนมอาจเกิดเมื่อใช้เทสโทสเตอโรนในขนาดสูง เนื่องจากการเปลี่ยนเทสโทสเตอโรนโดยเอนไซม์อะโรมาเทส (aromatase) ให้เป็นเอสโทรเจนคือ estradiol มากเกิน[34]การรักษาด้วยเทสโทสเตอโรนโดยเฉพาะในขนาดมาก อาจสัมพันธ์กับอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย ความหงุดหงิดหรือดุเพิ่ม อารมณ์เพศเพิ่ม การแข็งตัวเองขององคชาต และฝันเปียก[35][36][37][38]

ผลข้างเคียงอื่นรวมทั้งฮีมาโทคริตสูงขึ้น ซึ่งอาจต้องรักษาด้วยการเจาะเส้นเลือดดำ (venipuncture) และอาจเพิ่มปัญหาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ[39]

องค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) กล่าวในปี 2015 ว่า ทั้งประโยชน์และความปลอดภัยในการให้เทสโทสเตอโรนเพิ่มยังไม่มีหลักฐานเนื่องกับการมีระดับเทสโทสเตอโรนต่ำเนื่องจากสูงอายุ[4]และบังคับให้ป้ายยาแสดงคำเตือนถึงความเสี่ยงหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมองที่เพิ่มขึ้น[4]โดยต่อมาบังคับให้แสดงปัญหาในเรื่องการใช้ผิด ๆ และการติดยา[40]

ผลไม่พึงประสงค์ระยะยาว

โรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ

ผลไม่พึงประสงค์ของการใช้เทสโทสเตอโรนเป็นยา รวมทั้งมีปัญหาทางหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น (เช่นโรคหลอดเลือดสมองและกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด) และการถึงความตาย โดยได้หลักฐานจากงานศึกษาที่ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน 3 งานในชายที่ทดแทนเทสโทสเตอโรนด้วยยา[41]นอกจากนั้น การตายเพิ่มขึ้นถึง 30% และกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดในชายที่สูงอายุกว่า ก็ยังมีรายงานด้วย[42]เนื่องจากอุบัติการณ์ที่สูงขึ้นของปัญหาหลอดเลือดหัวใจเทียบกับกลุ่มควบคุม ในโปรแกรมศึกษา Testosterone in Older Men with Mobility Limitations (TOM) ซึ่งเป็นส่วนของการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมขององค์กร National Institute of Aging คณะกรรมการเฝ้าสังเกตความปลอดภัยถึงต้องหยุดระงับการศึกษาก่อนเวลา[43]

วันที่ 31 มกราคม 2014 เพราะรายงานว่ามีโรคหลอดเลือดสมอง กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด และความตายในชายที่ใช้เทสโทสเตอโรนตามที่องค์กรอาหารและยาสหรัฐได้อนุมัติ องค์กรจึงประกาศว่าจะตรวจสอบปัญหา[44]ต่อมาในเดือนกันยายนปีเดียวกัน องค์กรจึงประกาศเนื่องกับโอกาสปัญหาหลอดเลือดหัวใจที่ไม่พึงประสงค์ ว่าองค์กรจะทบทวนความเหมาะสมและความปลอดภัยของการบำบัดทดแทนเทสโทสเตอโรน (TRT)[45][46][47]ปัจจุบัน องค์กรบังคับให้แสดงคำเตือนในป้ายยาที่อนุมัติทั้งหมดเกี่ยวกับการเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนลึกมีลิ่มเลือด (deep vein thrombosis) และภาวะสิ่งหลุดอุดหลอดเลือดในปอด (pulmonary embolism)[48]

จนถึงปี 2010 ไม่มีงานศึกษาไหนที่แสดงผลของการใช้ยาเทสโทสเตอโรนต่อความเสี่ยงตาย มะเร็งต่อมลูกหมาก หรือโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ[49][50]แต่งานศึกษาหลังจากนั้นได้ยกประเด็นปัญหาต่าง ๆ[51]งานศึกษาปี 2013 ซึ่งตีพิมพ์ใน JAMA รายงานว่า "การบำบัดรักษาด้วยเทสโทสเตอโรนสัมพันธ์อย่างสำคัญกับความเสี่ยงต่อผลไม่พึงประสงค์ที่เพิ่มขึ้น"งานศึกษานี้เริ่มขึ้นหลังจากที่การทดลองทางคลินิกแบบสุ่มงานก่อน ที่บำบัดชายด้วยเทสโทสเตอโรนแล้วได้หยุดก่อนเวลา "เนื่องจากปัญหาหลอดเลือดหัวใจที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งสร้างประเด็นความปลอดภัยของการบำบัดด้วยเทสโทสเตอโรน"[42]

มะเร็งต่อมลูกหมาก

เมื่อมีมะเร็งต่อมลูกหมากที่กำลังโตอย่างช้า ๆ นักวิชาการเชื่อว่า การใช้เทสโทสเตอโรนจะเพิ่มอัตราการเติบโตของมะเร็งแต่ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้เทสโทสเตอโรนกับการพัฒนาเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ก็ยังไม่มีหลักฐานพอสรุปได้[52]อย่างไรก็ดี วรรณกรรมการแพทย์ก็เตือนถึงความเสี่ยงมะเร็งที่สัมพันธ์กับการใช้ยาเทสโทสเตอโรน[53]

ยาอาจเร่งการเติบโตของมะเร็งต่อมลูกหมากที่มีอยู่แล้ว สำหรับคนไข้ที่กำลังรักษาด้วยการระงับแอนโดรเจน (androgen deprivation)[39]วิทยาลัยแพทย์แห่งชาติสหรัฐ (NAM) แนะนำให้แพทย์คัดกรองคนไข้ที่อาจมีมะเร็งต่อมลูกหมากด้วยการใช้นิ้วคลำตรวจต่อมลูกหมาก (digital rectal exam) และตรวจระดับแอนติเจนเฉพาะต่อมลูกหมาก (PSA) ก่อนเริ่มให้ยา และให้สอดส่องระดับ PSA และฮีมาโทคริตอย่างระมัดระวังในช่วงการรักษา[12]คนชาติพันธุ์ต่าง ๆ มีอัตราการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากไม่เท่ากัน[54]มีการเสนอว่าเป็นเพราะความแตกต่างของฮอร์โมนทางเพศ รวมทั้งเทสโทสเตอโรน[54]

ความขัดแย้งที่ปรากฏเยี่ยงนี้ อาจเป็นเพราะมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นโรคสามัญมากในการตรวจศพชายช่วงอายุแปดสิบ 80% จะมีมะเร็งต่อมลูกหมาก[55]

การตั้งครรภ์และการให้นมลูก

เทสโทสเตอโรนห้ามใช้เมื่อตั้งครรภ์และแนะนำไม่ให้ใช้เมื่อเลี้ยงลูกด้วยนม[56]แอนโดรเจนต่าง ๆ เช่น เทสโทสเตอโรน เป็นสารก่อวิรูป (teratogen) และปรากฏว่าเป็นอันตรายต่อทารก เช่น ก่อบุรุษภาพและอวัยวะเพศที่ไม่ชัดเจน

แหล่งที่มา

WikiPedia: เทสโทสเตอโรน (ยา) http://www.aacp.com/pdf%2F0214%2F0214ACP_Amanatkar... http://www.chemspider.com/Chemical-Structure.5791.... http://ireport.cnn.com/docs/DOC-1167887 http://www.espn.com/espnw/voices/article/17275159/ http://www.nature.com/ijir/journal/v16/n1/full/390... http://adisinsight.springer.com/drugs/800029680 http://testosteronedruglawyers.com/wp-content/uplo... http://library.med.utah.edu/WebPath/TUTORIAL/PROST... http://www.ema.europa.eu/ema/index.jsp?curl=/pages... http://www.fda.gov/Drugs/DrugSafety/ucm401746.htm